Nurse resident 2
การฝึกอบรมมุ่งเน้นผลลัพท์ด้านสมรรถนะทางการพยาบาลผู้ป่วยสูติกรรมและทารกแรกเกิด ในรายที่ไม่ซับซ้อน รวมทั้งแนวคิดทางระบบคุณภาพ การพยาบาลตามหลักฐานเชิงประจักษ์ เพื่อเตรียมความรู้ ความสามารถจำเป็นต้องมี เพื่อเตรียมความรู้ความสามารถ ทักษะ และประสบการณ์ ในการเข้ารับการฝึกอบรมต่อยอดทางการพยาบาลเฉพาะโรคทางสูติกรรมและทารกแรกเกิดที่ยากมากขึ้นและมีความซับซ้อนมากขึ้น ในปีต่อไป
MWF 306
การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
วัตถุประสงค์ หลังเรียนจบชุดการเรียนรู้นี้แล้ว ผู้เรียนสามารถ
1. วิเคราะห์นโยบาย สถานการณ์ และแนวโน้มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
2. อธิบายประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และความผลกระทบของการไม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่
3. อธิบายปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้
4. อธิบายหลักเกณฑ์ของการตลาดอาหารทารก (Code of marketing of breastmilk substitutes)
5. อธิบายกายวิภาค และสรีรวิทยาของเต้านมและกลไกการหลั่งน้ำนมได้
6. ประเมินการดูดนมของทารกอย่างมีประสิทธิภาพได้
7. อธิบายบันได 10 ขั้นของความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้
8. ให้คำแนะนำส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในระยะตั้งครรภ์ได้
9. ให้คำแนะนำส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในระยะคลอดได้
10. ให้คำแนะนำส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในระยะหลังคลอดได้
11. ส่งเสริม สนับสนุน ช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้
12. ให้คำแนะนำการใช้ยาในมารดาหลังคลอดและให้นมบุตรได้
สมรรถนะที่คาดหวัง
สมรรถนะที่ 2 ด้านการปฏิบัติการพยาบาลเฉพาะทางสาขาการผดุงครรภ์
สมรรถนะที่ 3 ด้านคุณลักษณะวิชาชีพ
สมรรถนะที่ 5 ด้านวิชาการและการวิจัย
สมรรถนะที่ 6 ด้านการสื่อสารและสัมพันธภาพ
ชุดการเรียนรู้ที่ 7 ประกอบด้วย 4 หน่วยการเรียนรู้ ได้แก่
่
หน่วยการเรียนรู้ที่ 7.1 สถานการณ์ แนวโน้ม และประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
หน่วยการเรียนรู้ที่ 7.2 การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
หน่วยการเรียนรู้ที่ 7.3 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
หน่วยการเรียนรู้ที่ 7.4 แนวทางปฏิบัติในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
เอกสารประกอบการเรียนรู้
MWF 307
การดูแลมารดาและทารกในรายที่ซับซ้อน
วัตถุประสงค์ หลังเรียนจบชุดการเรียนรู้นี้แล้ว ผู้เรียนสามารถ
-
ประเมินภาวะสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์และทารกในรายที่มีความซับซ้อนได้อย่างเป็นองค์รวม
-
ให้การพยาบาลหญิงตั้งครรภ์และทารกในรายที่มีความซับซ้อน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
-
ส่งเสริมการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์และทารกในรายที่มีความซับซ้อนได้
-
เป็นผู้นำทีมการพยาบาลในการดูแลหญิงตั้งครรภ์และทารกในรายที่มีความซับซ้อน
-
สื่อสารในทีมสุขภาพและครอบครัวเพื่อการพยาบาลหญิงตั้งครรภ์และทารกในรายที่มีความซับซ้อนได้
-
ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการดูแลและให้การพยาบาลหญิงตั้งครรภ์และทารกในรายที่มีความซับซ้อน
-
สืบค้นและนำเสนองานวิจัยเพื่อใช้เป็นทางในการพัฒนาผลลัพธ์ทางการพยาบาลหญิงตั้งครรภ์และทารกในรายที่มีความซับซ้อนได้
สมรรถนะที่คาดหวัง
สมรรถนะที่ 2 ด้านการปฏิบัติการพยาบาลเฉพาะทางสาขาการผดุงครรภ์
สมรรถนะที่ 4 ด้านภาวะผู้นำ การจัดการและการพัฒนาคุณภาพ
สมรรถนะที่ 5 ด้านวิชาการ และการวิจัย
สมรรถนะที่ 6 ด้านการสื่อสารและสัมพันธภาพ
สมรรถนะที่ 7 ด้านเทคโนโลยีและสารสนเทศ
ชุดการเรียนรู้ที่ 9 ประกอบด้วย 3 หน่วยการเรียนรู้ ได้แก่
หน่วยการเรียนรู้ที่ 9.1 การดูแลมารดาและทารกระยะตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูง
หน่วยการเรียนรู้ที่ 9.2 การดูแลมารดาและทารกระยะคลอดที่มีภาวะแทรกซ้อน
หน่วยการเรียนรู้ที่ 9.3 การดูแลมารดาและทารกระยะหลังคลอดที่มีความซับซ้อน
เอกสารประกอบการเรียนรู้
MS 205
การพยาบาลผู้ป่วยแบบประคับประคอง
วัตถุประสงค์ หลังเรียนจบชุดการเรียนรู้นี้แล้ว ผู้เรียนสามารถ
-
ให้การดูแลแบบประคับประคองได้
-
จัดการอาการปวดและอาการรบกวนได้
-
ให้การดูแลในระยะใกล้ตายได้
-
อธิบายหลักการสื่อสารและให้คำปรึกษาแก่ครอบครัวได้
-
ให้การดูแลครอบครัวในภาวะเศร้าโศกและสูญเสียภายหลังบุตรเสียชีวิตได้
-
ตอบสนองความต้องการตามหลักศาสนา จิตวิญญาณ และวัฒนธรรม
-
อธิบายจรรยาบรรณวิชาชีพและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วยในระยะท้ายของชีวิตได้
-
ประยุกต์ใช้แนวคิดการดูแลแบบประคับประคอง/การดูแลระยะท้ายไปใช้ได้
สมรรถนะที่คาดหวัง
สมรรถนะที่ 2 ด้านการปฏิบัติการพยาบาลเฉพาะทางสาขาการผดุงครรภ์
ชุดการเรียนรู้ที่ 8 ประกอบด้วย 6 หน่วยการเรียนรู้ ได้แก่
หน่วยการเรียนรู้ที่ 8.1 ระบบสุขภาพและภาวะผู้นำในการดูแลแบบประคับประคอง
หน่วยการเรียนรู้ที่ 8.2 การพยาบาลผู้ป่วยแบบประคับประคอง
หน่วยการเรียนรู้ที่ 8.3 การสื่อสารและการสอนในการดูแลแบบประคับประคอง
หน่วยการเรียนรู้ที่ 8.4 การจัดการความปวด
หน่วยการเรียนรู้ที่ 8.5 การจัดการดูแลระยะใกล้ตายและการดูแลครอบครัว
หน่วยการเรียนรู้ที่ 8.6 Perinatal & Neonatal palliative care
เอกสารประกอบการเรียนรู้